หน้าที่และการทำงานของหัวใจ
หน้าที่และการทำงานของหัวใจ
1.การควบคุมเลือดและหลอดเลือดของหัวใจ
หน้าที่หลักของหัวใจ ประการแรกคือการควบคุมเลือดและหลอดเลือดของหัวใจ โดยการสูบฉีดเลือดผ่านระบบไหลเวียนเพื่อไป
เลี้ยงทั่วร่างกาย
กระบวนการสูบฉีดเลือดดังกล่าวนี้ หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายโดยผ่านหลอดเลือดใหญ่ โดยในแต่ละครั้ง
ที่หัวใจบีบตัว เลือดดีก็จะถูกส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ประมาณ 60-90 มิลลิลิตรเข้าสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งในหลอดเลือดแดงใหญ่นี้มี
แรงดันมากพอที่จะส่งเลือดเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็กที่สุดและไกลที่สุดภายในร่างกายซึ่งมีความยาว 60,000 ไมล์ เมื่อหัวใจคลายตัว
เลือดที่มีออกซิเจนเหลือน้อยหรือเลือดเสียจากทั่วร่างกายก็จะไหลเข้าสู่หลอดเลือดดำ ไหลกลับไปที่หัวใจเพื่อรอการนำไปฟอกที่ปอดต่อไป
แล้วจึงจะเริ่มต้นวงจรการไหลเวียนเลือดใหม่ วนเวียนกันอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา
จะเห็นได้ว่าในการทำงานของหัวใจดังกล่าวข้างต้นนี้ประกอบด้วยระบบการทำงาน 2 ระบบ คือ
ระบบแรก คือระบบไฟฟ้า หัวใจมีจุดกำเนิดไฟฟ้าคอยกำกับการเต้นของหัวใจตามกระแสไฟฟ้าที่ส่งมา ในศาสตร์การแพทย์แผนจีน
มองว่าระบบไฟฟ้านี้ก็คือพลังชี่และหยาง เป็นพลังที่ขับเคลื่อนให้หัวใจเต้นอย่างมีจังหวะ
ระบบที่สอง คือระบบไหลเวียนเลือด ที่ทำงานคล้ายระบบประปาที่ประกอบด้วยน้ำและท่อประปาสำหรับระบบไหลเวียนของเลือด
นั่นคือมีเลือดและหลอดเลือดอันเป็นท่อสายธารไหลเวียนของเลือดที่ได้มาจากอาหารการกินและการสังเคราะห์จากสารชีวิตที่ต้องมีปริมาณ
เต็มเปี่ยมและมากเพียงพอที่จะไหลเวียนอย่างไม่มีการหยุดนิ่ง เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกาย
หัวใจจะเต้นเป็นจังหวะได้ ต้องมีพลังชี่ของหัวใจที่ช่วยให้หัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือดออกไปสู่หลอดเลือด และสร้างระบบหมุนเวียนเลือด
ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คนเราแข็งแรง สดชื่น มีชีวิตชีวา ผิวพรรณสดใส ใบหน้ามีเลือดฝาดชีพจรเต้นดีมีจังหวะสม่ำเสมอ
หากเมื่อใดที่เลือดน้อยหรือเลือดจาง ในห้องหัวใจและหลอดเลือดมีเลือดน้อย พลังชี่หัวใจอ่อนแอกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง เต้นอ่อน
ส่งเลือดเข้าสู่หลอดเลือดได้น้อย หรือหลอดเลือดแข็ง ยืดหยุ่นไม่ดี ผนังตีบแคบ อุดตัน ชี่อั้น เลือดคั่ง ก็จะส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดติดขัด
เกิดอาการใบหน้าหมองคล้ำ ริมฝีปากคล้ำ เจ็บบริเวณหัวใจแบบกดทับหรือเหมือนกับมีเข็มมาทิ่มแทง ชีพจรเต้นอ่อน หรือเต้นช้าไป เร็วไป
ไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เป็นต้น
อวัยวะน้อย-ใหญ่ในร่างกายของเราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ต่อเมื่อเลือดไหลเวียนได้ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับการทำงานของหัวใจ
และหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและนำเลือดไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจจึงเปรียบดังเครื่องสูบฉีดธรรมชาติที่มีความทนทาน
ที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายอย่างสม่ำเสมอตลอดชั่วอายุของเรา
2.ควบคุมจิตประสาท
ควบคุมจิตประสาท หน้าที่ในการควบคุมจิตประสาทของหัวใจในการแพทย์แผนจีนมีความหมายทั้งด้านกว้างและด้านแคบ
- ความหมายในด้านกว้าง หัวใจควบคุมจิตประสาท หมายถึง การเคลื่อนไหวทางภายนอกของร่างกายคน เช่น ความสมบรูณ์ของรูปร่าง
หน้าตาทั้งหมด ตั้งแต่สีหน้า แววตา การพูดจา การตอบสนอง รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน ล้วนมีจิตประสาทมาเกี่ยวข้อง ถ้าคน
ไหนจิตประสาทดี ร่างกายจะคึกคักมีชีวิตชีวา สดชื่นแจ่มใส เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว ถ้าจิตประสาทไม่สมบูรณ์ดี จะมีอาการตรงกันข้าม
- ความหมายในด้านแคบ ในการควบคุมจิตประสาท หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ความสำนึก การใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ซึ่งการ
เคลื่อนไหวเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง ดังนั้น ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับฝันมากจิตไม่สงบ ความคิดฟุ้งซ่าน จนถึงขั้นเป็นบ้า
หรือในทางตรงข้าม มีอาการซึมเศร้า หดหู่ ขี้หลงขี้ลืม สลบหรือหมดสติ แพทย์แผนจีนจะวินิจฉัยและรักษาโดยไม่ลืมที่จะเชื่อมโยงถึง
การควบคุมจิตประสาทและการทำงานของหัวใจด้วย