หน้าที่ของไต

หน้าที่ของไต

หน้าที่ของไต ของการแพทย์แผนจีน ตอนที่ 1 

ตอนนี้จะอ่านเข้าใจยากหน่อย อาจจะต้องพยายามทำความเข้าใจสักหน่อย แต่ถ้าเข้าใจแล้ว จะสามารถเข้าใจเรื่องบทอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นเยอะเลยนะคะ หากไม่เข้าใจตรง
ไหนสามารถสอบถามได้ที่   คลิ๊กLine@   มาเริ่มกันเลย

          เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า    ไตมีหน้าที่ในการขับของเสียจากออกจากร่างกาย    เพราะไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะ มีหน้าที่สร้างความสมดุลใน
ความเป็นกรดและด่างในระบบเลือด และการกำกับความดันเลือด   โดยผ่านการรักษาสมดุลของเกลือและน้ำ นอกจากนี้ ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ
และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งสามารถจำแนกหน้าที่ของไตได้ดังนี้

  1. ไตมีหน้าที่เก็บสะสม “สารจิง”

           “สารจิง”คือ   สารชีวิตเป็นส่วนเล็กที่สุดส่วนหนึ่งของชี่ดั้งเดิมที่ก่อกำเนิดชีวิต      ชีวิตใหม่เกิดจากสารจิงของผู้เป็นพ่อและผู้เป็นแม่ สารจิงจึงเป็นวัตถุพื้น
ฐานที่สุดก่อนเกิดชีวิตกักเก็บอยู่ที่ไตเป็นฐานหลักให้แก่การเจริญเติบโตของร่างกายตลอดกระบวนการชั่วชีวิตเป็นรากฐานทางวัตถุที่ช่วยให้คนถือกำเนิดขึ้นมา
เจริญเติบโตและทำให้การสรีระร่างกายส่วนต่างๆ เคลื่อนไหว     สารจิงเป็นสารลํ้าค่าที่ร่างกายของคนเราขาดไม่ได้

          “สารจิง” มีมาจากสามทาง คือ

          ทางที่ 1 ได้จากพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนกำเนิดโดยรับยีนที่พ่อแม่ให้มาตั้งแต่เริ่มเป็นตัวอ่อนในท้องแม่ที่เราเรียกว่ากรรมพันธุ์แผนจีน เรียกว่า“ทุนต้นกำเนิด”

          ทางที่ 2 มีมาภายหลังที่มนุษย์คลอดออกมาจากท้องแม่แล้ว     เราดำเนินชีวิตด้วยตัวเองไม่ต้องรับอาหารทางสายสะดือจากแม่แล้ว    เริ่มดูดนมกินอาหาร
ตามวัยที่เจริญเติบโตขึ้นตามลำดับการกินเหล่านี้จะเติมเต็มสารจิงโดยตรงไม่ได้หากไม่ผ่านการย่อยการลำเลียงของกระเพาะและม้าม

          ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “ไต” เป็นทุนต้นกำเนิด ส่วน “กระเพาะม้าม” เป็น “ทุนหลังกำเนิด” ที่ช่วยนำสารอาหารมาเติมเต็มให้แก่สารชีวิตก่อนกำเนิดที่ใช้ไปในการ
เจริญเติบโต      สารจิงที่ได้มาจากการกินนี้ทุนทั้งสองชนิดที่รวมกันเก็บไว้ที่ไตนี้กลายเป็นสารจิงในไตที่เกื้อหนุนให้แก่กระบวนการดำรงชีวิตของคนเรา
  โดยมีไตเป็นยุ้งฉางเก็บสะสมอาหารที่เรากิน
และกระเพาะม้ามลำไส้ทำการย่อยและส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย แต่สารอาหารส่วนหนึ่งเก็บสะสมไว้ที่ไต
หากอวัยวะต่างๆใช้สารอาหารไม่หมด   ส่วนที่เหลือก็จะกลับมาเก็บไว้ที่ไตและเมื่อใดที่อวัยวะอื่นๆ ถูกใช้งานมากจนพลังหมดไตก็จะส่งพลังจากสารอาหารที่สะสมไว้
ไปเสริม

          ด้วยเหตุผลข้างต้นหากใช้พลังไปมากใช้เกินตัวใช้ชีวิตเปลืองในช่วงที่ยังหนุ่มยังสาวยังสามารถหาเพิ่มได้จะใช้มากเท่าไรก็ไม่กระทบกระเทือน    ต่อเมื่อวัน
เวลาผ่านไปร่างกายเสื่อมถอยลงคลังเสบียงร่อยหรอถึงตอนนั้นเราก็จะเจ็บป่วยจนต้องพึ่งหมออย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อชีวิตและร่างกายของเราต้องใช้ “สารจิง”
ตลอด จึงต้องทะนุถนอม “สารจิง” และหมั่นเติมเต็มสารจิงหรือสารชีวิตให้แก่ร่างกายอยู่เสมอ

  1. ไตมีหน้าที่เก็บ “ชี่ไต”

         “ชี่ไต” หมายถึง พลังชี่ต้นกำเนิดที่ได้จากพ่อแม่รวมกับชี่หลังกำเนิดที่ได้จากอาหารการกินที่กระเพาะ ม้าม และลำไส้ย่อยแล้วส่งไปสะสมไว้ที่ไตรวมกันเป็น
รากฐานของชี่ในอวัยวะอื่นๆด้วย การทำงานที่เข้มแข็งของไตต้องมีชี่ไต กล่าวได้ว่า “ชี่” ก็คือพลังการทำงานนั่นเอง

          เมื่อชี่ไตเพียงพอก็เท่ากับไตแข็งแรง ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง ไม่อ่อนเพลียง่าย ปัสสาวะเป็นปรกติไม่มากหรือน้อยเกินไป ระบบสืบพันธุ์แข็งแรง มีลูกสืบสกุล
ได้ ไม่ปวดเอว ไม่เมื่อยเข่า ไม่เวียนศีรษะ นอนหลับสบาย ไม่ร้อนหรือหนาวง่ายจนเกินไป

          หากสารจิงในไตถูกใช้ไปมาก ไม่ว่าจะจากการทำงานหนักทั้งทางกายและทางสมอง หรือทำกิจกรรมทางเพศมากเกินไป สารจิงจะถูกลดทอนลงเรื่อยๆส่งผล
ให้ “ชี่ไต” ลดความแน่นเหนียวจึงเกิดอาการชี่ไตไม่แน่น

  1. ไตมีหน้าที่เก็บยินของไต

          ไตมีพลังชี่อยู่สองชนิด คือ ยินชี่ และ หยางชี่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยินดั้งเดิม และ หยางดั้งเดิม  ยินชี่กับหยางชี่ต้องสมดุลร่างกายจึงจะแข็งแรงดังที่
คัมภีร์จีนโบราณ “หวงตี้เน่ยจิง” สอนไว้ว่า “ยินนิ่งหยางแน่น จิตเข้มแข็ง” หรืออย่างที่เรารับรู้กันทั่วไปว่าเป็นความสมดุลของยินหยางในร่างกายนั่นเอง

          ยินชี่ของไตมีคุณสมบัติในการหล่อลื่น หล่อเลี้ยง ชุ่มชื้น เย็นสบาย สงบนิ่ง เป็นชี่ที่ลงล่างบรรดาสารจิง สารน้ำ สารเหลวเหลวเลือดในร่างกายของเราล้วนเป็น
สารยินทั้งสิ้น หากยินชี่ในไตมีเพียงพอ เต็มเปี่ยม ร่างกายของเราก็จะไม่เหี่ยวแห้ง ผิวหนังจะชุ่มชื้น เส้นผมจะนุ่มสลวย อุณหภูมิในร่างกายจะเย็นสบายพอดีๆ ไม่ร้อน
รุ่ม จิตใจจะสงบ และนอนหลับสนิท

 

 

ติดต่อเรา

 สอบถามรายละเอียด

นัดหมาย หรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

 CLICK เลย!!

 

ฝังเข็ม ติดต่อไพรเวช 

ติดต่อ ไพรเวชคลินิก 

Visitors: 111,504