หน้าที่ของไต ทางการแพทย์แผนจีน 2

         หน้าที่ของไต

           4. ไตมีหน้าที่เก็บหยางของไต (ไต ทำให้ร่างกายแข็งแรง เอว ขา เข่า แข็งแรง)

          “หยางชี่” เป็นตัวแทนของพลังที่ผลักดันให้มีการเจริญเติบโต อบอุ่น เคลื่อนไหว เป็นพลังผลักดัน

          ให้ร่างกายทำงาน คึกคัก มีชีวิตชีวา ขึ้นบน     หากหยางชี่มีเพียงพอ ร่างกายจะสดชื่น คึกคัก แข็งแรง ไม่อ่อนเปลี้ยเพลียแรง   เป็นพลังชีวิตที่คุโชนอยู่เสมอ
ตลอดการมีชีวิตอยู่ของคนเรา

          หยางชี่ของไตเป็นฐานพลังของอวัยวะต่างๆ ทุกอวัยวะในร่างกาย ทำให้เรามีเรี่ยวมีแรงในการทำงาน ออกกำลัง และเคลื่อนไหว    แม้จะเหนื่อย แต่เมื่อได้รับ
การพักผ่อนฟื้นฟู พลังหยางชี่ก็จะกลับคืนมามีชีวิตชีวาต่อไปใหม่

          ยิน-หยางมีรากเหง้าเดียวกันพึ่งพาแปรเปลี่ยนสู่กันและกันในตราสัญลักษณ์ของแพทย์แผนจีนเราจะเห็นรูปปลาดำและปลาขาวแบบผ่าครึ่งม้วนตัวโอบอุ้มพัน
กันแยกไม่ออก   ปลาด้านสีดำเป็นตัวแทนของยินส่วนหัวปลาดำใหญ่สุดจะมีจุดขาวเป็นตาปลาอยู่ บ่งบอกว่าในช่วงที่หยางมีมากที่สุดนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่หยางล้วนๆ
หากแต่มียินเจือปนอยู่ด้วย และในยามที่ยินมีมากที่สุดหน่อของหยางเริ่มก่อตัวขึ้นแล้วซึ่งตรงกับคำอธิบายของแพทย์แผนจีนที่ว่า“ในยินมีหยาง” และ “ในหยางมียิน”
และได้กลายมาเป็นหลักคิดหลักการวินิจฉัยในการวิเคราะห์โรคและการรักษาผู้ป่วยของแพทย์จีนอย่างได้ผลมาจนถึงปัจจุบัน

 

          5. ไตควบคุมน้ำในร่างกาย (หากไตผิดปกติ จะทำให้เกิดการบวมน้ำได้)

          เมื่อน้ำและสารอาหารถูกลำเลียงมายังไตโดยผ่านการกรองของหน่วยไต ท่อไตเล็กๆจะดูดสิ่งที่เป็น

          ประโยชน์เข้าไปในเส้นเลือด เสบียงอาหารและน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วจะกลายเป็นปัสสาวะส่งลงมายังกระเพาะปัสสาวะ   จะเห็นได้ว่า แม้การบริหารจัดการ
เรื่องน้ำในร่างกายจะมีปอดและม้ามร่วมกันทำงานก็จริง แต่ไตจะทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุด   นั่นคือการกรองเอาสารอาหารมาปรับความสมดุลของแร่ธาตุต่างๆรวมทั้ง
ปรับความสมดุลของน้ำในร่างกายด้วย

          หากการทำงานของไตในด้านการควบคุมน้ำในร่างกายเกิดความผิดปรกติจะส่งผลให้ปัสสาวะน้อยหรือมากเกินไป  หรือถึงขั้นไม่มีปัสสาวะเลย จะเกิดอาการ
บวมน้ำ หรือน้ำท่วมร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อหยางไตพร่องทางเดินน้ำติดขัด   แต่บางครั้งอาการบวมน้ำอาจไม่ได้เกิดจาก หยางไตพร่อง เพียงอวัยวะเดียว แต่อาจมา
จาก หยางปอดและ หยางม้ามพร่องร่วมด้วยก็ได้

 

          6. ไตควบคุมกระดูก (หากไตไม่เเข็งแรงโอกาส กระดูกพรุนก่อนวัยอันควรจะสูงมาก)

          ในทางการแพทย์แผนจีนกระดูกได้รับการดูแลจากไตตั้งแต่เริ่มเกิด    หากกระดูกยังไม่แข็งแรงเพราะชี่ไตยังอ่อนแอ แต่เมื่อเติบโตขึ้นชี่ไตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
กระดูกจะค่อยๆแข็งแรงขึ้นตามลำดับและทำงานได้อย่างแข็งแรง บึกบึน  จนกระทั่งเมื่อมีอายุมากขึ้น ชี่ไตเริ่มร่วงโรยความแข็งแรงของกระดูกค่อยๆลดลง เห็นได้
จากการที่มวลกระดูกของผู้สูงอายุเริ่มลดลงทีละน้อยๆ จนกระดูกบางกลายเป็นกระดูกพรุนที่แสดงอาการต่างๆ ปรากฏในวัยชรา

          การทำหน้าที่ในการควบคุมกระดูกของไตนี้ ทำโดยการที่สารจิงในไต       หล่อเลี้ยงสมองไขสันหลัง

          ไขกระดูกให้มีปริมาณเต็มเปี่ยมสมบูรณ์      ขณะเดียวกันความสมบูรณ์เต็มเปี่ยมของสมองไขสันหลังไขกระดูก ก็หวนกลับมาหล่อเลี้ยงกระดูกให้เติบโต
แข็งแกร่งและเติมเต็มให้กับสารจิงอีกในภายหลัง     วนเวียนพึ่งพาดูแลกันอยู่เช่นนี้ดังคัมภีร์จีนโบราณได้บันทึกไว้ว่า“ไตควบคุมไขกระดูกทั่วร่างกาย”

 

ติดต่อเรา

 สอบถามรายละเอียด

นัดหมาย หรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

 CLICK เลย!!

ฝังเข็ม ติดต่อไพรเวช 

ติดต่อ ไพรเวชคลินิก 

Visitors: 111,497