โรคหัวใจและสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค 3

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

6.หัวใจเต้นผิดปรกติ

          ในชีวิตประจำวันเราจะไม่รู้สึกว่าหัวใจเต้นเป็นเรื่องปรกติ     แต่จู่ๆหัวใจเต้นแรงตุบๆจนรู้สึกได้จากนั้นหัวใจเต้นเร็วตามมาเรียกว่า
หัวใจเต้นผิดปรกติ

          หัวใจเต้นผิดปรกติเกิดขึ้นในแต่ละคนแตกต่างกันบางคนเต้นช้า บางคนเต้นเร็วบางคนเต้นผิดจังหวะไม่สม่ำเสมอ ความหนัก-เบา
ต่างกันสะท้อนถึงความซับซ้อนของโรคหัวใจขาดเลือด

 

หัวใจเต้นผิดปรกติมีอาการหลายรูปแบบดังนี้

 

          6.1 หัวใจเต้นเร็ว  เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆกล่าวคือ   จู่ๆ หัวใจเต้นเร็วอย่างกะทันหัน  โดยไม่มีสาเหตุและหยุดเองอย่างรวดเร็ว
กรณีที่หัวใจเต้นเร็วกว่าปรกตินี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกได้เอง และรู้สึกใจสั่นไม่สบายไม่สบายตัว    หวาดกลัวหากเป็นหนักๆความดันโลหิตจะลดต่ำ
หน้ามืดจะเป็นลมอาจกินเวลาเพียงไม่กี่วินาทีนานที่สุดหลายชั่วโมงหรือหลายวัน


          จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นเต้นปรกติอย่างรวดเร็วไม่เป็นบ่อยแต่บางคนจะเป็นบ่อยวันหนึ่งหลายครั้ง

 

          หากมีอาการดังกล่าว ให้ช่วยเหลือตัวเองดังนี้

          - กลั้นหายใจ สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นเอาไว้ กลั้นหายใจสัก 2-3 วินาทีค่อยหายใจออกแรงๆ

 

          - ใช้นิ้วหรือช้อนแหย่ที่โคนลิ้นเพื่อให้อาเจียนทำให้ประสาทได้รับการกระตุ้นอาการหัวใจเต้นเร็วจะหยุดลงได้

 

          - หลับตาทั้งสองข้างตามองลงล่างใช้นิ้วกดที่เปลือกตาด้านบน(ห้ามกดที่กลางดวงตา)ใช้แรงกดพอประมาณเป็นเวลา 15 วินาที
กดทีละข้างกดข้างซ้ายก่อนกดข้างขวาทีหลังอย่ากดทั้งสองข้างพร้อมกันแต่ผู้ที่สายตาสั้นมากหรือเป็นต้อหินห้ามใช้วิธีนี้

 

          - กดคอโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงหันคอไปข้างหนึ่งใช้มือกดไปที่เส้นเลือดที่เต้นตุบๆบริเวณคอดันเส้นเลือดไปทาง
กระดูกสันหลังคอกดนวดเบาๆ 10 วินาที นวดข้างซ้ายก่อน ขวาทีหลัง แต่อย่ากดแรง และห้ามกดทั้งสองข้างพร้อมกัน

          หากทำตามวิธีข้างต้นแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบพาไปโรงพยาบาล

 

          6.2 หัวใจเต้นช้า หมายถึง หัวใจเต้นในอัตราการเต้นตำว่า 60 ครั้งต่อนาที     การที่หัวใจเต้นช้าเกิดจากการทำงานของสรีระของหัวใจเอง
เช่น นักกีฬา ผู้สูงอายุที่ร่างกายแข็งแรงหรือเคยเป็นนักกีฬามาก่อนหรือเกิดขึ้นในช่วงนอนหลับ      หากไม่มีอาการไม่สบายหรืออาการกวนใจ
อะไรเกิดขึ้นถือว่าปรกติ

          ส่วนหัวใจเต้นช้าที่เกิดจากโรคนั้น มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด   เพราะหลอดเลือดหัวใจแขนงซีกขวาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ซีกขวา ส่วนที่เป็นจุดต้นกำเนิดกระแสไฟของหัวใจอยู่ผนังหัวใจบนขวาเมื่อผนังหลอดเลือดนี้แข็งท่อส่งแคบเลือดไปเลี้ยงกองบัญชาการสูงสุด
ไม่พอการส่งกระแสไฟผิดปรกติส่งผลให้หัวใจเต้นช้า

          หากมีอาการหัวใจเต้นช้าพร้อมกับอาการกระสับกระส่าย เวียนศีรษะอ่อนแรงเคลื่อนไหวหรือพูดนิดหน่อยก็เหนื่อยความดันโลหิตลดต่ำ
ลงแน่นหน้าอกต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลไม่เช่นนั้นหัวใจอาจหยุดเต้นได้

 

          6.3 หัวใจเต้นผิดจังหวะ  หมายถึง หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเต้น 2-3 ครั้งหยุดไป 1 ครั้งหรือห่างกว่านั้นหรือจะเรียกว่าหัวใจเต้นก่อน
กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว

           หัวใจเต้นผิดจังหวะพบเจอได้บ่อยมากเมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะมีได้เสมอ มีรายงานการติดเครื่องตรวจจับ
การเต้นของหัวใจ พบว่าผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะร้อยละ 90 ขึ้นไป

คนปรกติหัวใจเต้น 60-100 ครั้งต่อนาทีแต่ความจริงหัวใจเต้นอยู่ในระดับ 70-80 ครั้งต่อนาทีถือว่าเหมาะสมที่สุด

          ถ้าช้ากว่านี้เรียกว่าหัวใจเต้นช้า สูงกว่านี้เรียกว่าหัวใจเต้นเร็ว ถ้าต่ำกว่า 40 ครั้งหรือสูงกว่า 140 ครั้งต่อนาทีต้องพบแพทย์
แพทย์จะเป็นผู้แนะนำว่าต้องทำอย่างไรอาจใช้ยาหรือยังไม่ใช้ยาก็ได้

 

          6.4 หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เป็นอาการที่พบเจอได้บ่อยโดยเฉพาะผู้มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป  ส่วนในคนหนุ่มสาวมักพบหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว
ในกรณีเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วจากโรครูมาติสซั่ม

          ผู้สูงอายุที่มีอาการหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนอกจากนี้ยังพบในผู้ที่เป็นโรคหัวใจจากความดันโลหิต
สูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคปอดกับหัวใจโรคหัวใจแต่กำเนิด โรคไทรอยด์เป็นพิษ ล้วนทำให้เกิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้

          เมื่อหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วหัวใจห้องบนจะส่งกระแสไฟให้หัวใจเต้นเร็วมากอาจถึง 350-600 ครั้งต่อนาทีเต้นไม่สม่ำเสมอส่งผลให้หัวใจ
ห้องบนทำงานไม่ดีส่งเลือดได้ไม่ดีโดยเฉพาะเมื่อหัวใจเต้นเร็วส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ทีละน้อยถ้าเป็นเพียงเบาๆผู้ป่วยเพียงเกิดอาการหัวใจ
เต้นเร็วหายใจตื้น เหนื่อยเพลียไม่สบายบริเวณหน้าอกซ้าย

            ถ้าเป็นหนัก  จะเวียนศีรษะ กระทั่งเป็นลม   เจ็บหัวใจ น้ำท่วมปอดเฉียบพลัน   หัวใจวายและช็อกได้

            สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือ ที่ผนังของหัวใจห้องบนหากมีลิ่มเลือดเกาะอยู่ และหลุดเข้าไปในเส้นเลือด จะทำให้ผู้ป่วยพูดไม่ได้ ร่างกายซีกใด
ซีกหนึ่งอ่อนแรง เป็นอัมพฤกษ์

 

          6.5 หัวใจวาย .   อาการหัวใจวาย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าน็อกตาย   หมายความว่าคนแข็งแรงดีทุกอย่างจู่ ๆก็น็อกสิ้นลมไปอย่างกระทันหัน
โดยคนข้างเคียงช่วยอะไรไม่ทัน    เป็นโรคที่ผู้คนหวาดหวั่นเป็นอย่างยิ่ง ในอดีตโรคจะเกิดกับวัยกลางคนและผู้สูงอายุแต่ปัจจุบันเกิดกับคนอายุ
น้อยลงทุกที

          โรคหัวใจขาดเลือดที่น็อกตายอย่างเฉียบพลัน   เกิดจากหัวใจวายตายอย่างกะทันหันผู้ป่วยอาจไม่มีอาการของโรคหัวใจปรากฏให้ทราบ
มาก่อนก็ได้   แต่ไม่ว่าจะเจ็บแน่นหน้าอกหรือเจ็บหัวใจ ใจสั่น ใจเต้นเร็วหรือไม่มีอาการใดๆ และกำลังใช้ชีวิตประจำวันทำงานหรืออยู่ในระยะ
เป็นโรคหัวใจอยู่ก็ล้วนเกิดขึ้นได้ทั้งนั้นสาเหตุอาจมาจากความเครียด    อารมณ์ผันผวน ออกกำลังมากเกิน หรือทำงานเหน็ดเหนื่อยเกินไป
นอนพักผ่อนน้อย บาดเจ็บ กระทั่งไม่รู้สาเหตุ

          เมื่อใดที่หลอดเลือดหัวใจแข็ง ตีบ แคบ ตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอจะทำให้เกิดอาการเจ็บหัวใจหากเส้นเลือดถูกอุดตันอย่าง
กะทันหันระบบไหลเวียนสำรองไม่มีเมื่อเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พออย่างกะทันหันก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันทันทีได้

 

ติดต่อเรา

 สอบถามรายละเอียด

นัดหมาย หรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

 CLICK เลย!! 

ฝังเข็ม ติดต่อไพรเวช 

ติดต่อ ไพรเวชคลินิก  

 

Visitors: 111,491