หน้าที่และการทำงานของปอด 1

การทำงานของปอด

โดยทั่วไปแล้วปอดจะทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจ
แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น

นอกจากนั้นปอดยังมีหน้าที่อื่นๆอีก เช่น ควบคุมและขับสารต่างๆ เช่น แยกแอลกอฮอล์ ออกจากระบบเลือด
ควบคุมสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์
และอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนกรองลิ่มเลือดเล็กๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ
ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจซึ่งอยู่ตรงกลางช่องทรวงอก

ในการแพทย์แผนจีนปอดไม่เพียงเป็นอวัยวะสำหรับหายใจเพื่อแลกเปลี่ยนชี่ในอากาศตามธรรมชาติ
กับชี่ในร่างกายของเราเท่านั้น แต่ปอดยังมีหน้าที่สำคัญอีกหลายประการ ดังนี้

 

 

บัญชาการหายใจ 

ปอดทำหน้าที่ควบคุมชี่เพื่อบัญชาการหายใจ

การควบคุมชี่ของปอดนั้น ทำด้วยการหายสูดเอาอากาศบริสุทธิ์จากธรรมชาติ
มาแลกเปลี่ยนอากาศในร่างกายของเราที่อยู่ในปอด
แล้วจึงส่งอากาศเสียออกจากร่างกาย เรียกว่า “รุเก่า - รับใหม่”
โดยผ่านการหายใจ กระบวนเช่นนี้ล้วนควบคุมด้วยปอด ปอดจึงควบคุมชี่ที่แล่นทั่วร่างกาย

“ชี่” ที่ว่านี้ คือ ชี่ที่ปอดหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกร่างกาย กับ
ชี่ที่มาจากการการย่อยลำเลียงสารอาหารของกระเพาะม้าม รวมกันกลายเป็น “จงชี่”
จากนั้นปอดจะทำหน้าที่ส่งกระจาย “จงชี่” นี้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆทั่วร่างกาย

ดังนั้นการที่ชี่ปอดแข็งแรงหรือไม่แข็งแรงจะส่งผลกระทบต่อการผลิต“จงชี่” โดยตรง และย่อมกระทบ

ถึงการส่งกระจายไปทั่วร่างกายด้วยเช่นกัน การบัญชาหรือควบคุม และ
สั่งการหายใจและการเคลื่อนไหวขึ้น-ลง ของชี่ ต้องฟังคำสั่งของปอด

เมื่อหายใจเข้า ปอดบัญชาให้ชี่ต้องลง ลงลึกไปจนถึงใต้สะดือ
พร้อมกับพาสารอาหารลงไปถึงไต ผ่านไตกรองเป็นปัสสาวะขับออกนอกร่างกาย

หากชี่ปอดแข็งแรงการหายใจจะเป็นปรกติดี หากชี่ปอดไม่แข็งแรง
ไม่สามารถบัญชาการหายใจให้ชี่ลงลึกได้ จึงหายใจได้ตื้น

เช่น
คนที่เป็นหอบ คือชี่ปอดไม่ยอมลง ซ้ำร้ายยังดันย้อนขึ้น
เวลาหายใจชี่จะถูกดันอยู่แถวลำคอ ลงล่างไม่ได้

 

เมื่อหายใจออก ปอดบัญชาให้ชี่ปอดต้องขึ้น เพื่อเอาอากาศเสียออกทางจมูกเข้า-ออกอย่างเป็นจังหวะ
เป็นไปตามกฎเกณฑ์การทำงาน เช่นนี้
ล้วนอยู่ในการบัญชาสั่งการของปอดความแข็งแรงของชี่ปอดจึงมีความสำคัญต่อการขึ้น-ลง
และเข้า-ออกของชี่ทั่วร่างกาย ผ่านการรุเก่า-รับใหม่ เช่นนี้ตลอดเวลา

การบัญชาการหายใจจะควบคุมจังหวะในการหายใจ
ผลักดันให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนชี่อย่างไม่ขาดสาย
รวมทั้งยังปรับการเคลื่อนไหว ขึ้น-ลง และเข้า-ออก ของชี่
เพื่อให้การเผาผลาญภายในร่างกายเป็นไปตามปรกติอีกด้วย

เมื่อใดที่ปอดหายใจเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
เป็นการแสดงถึงการผลิตชี่และการปรับการเคลื่อนไหวของชี่เป็นไปตามปรกดี
แต่หากเมื่อใดที่มีเหตุกระทบถึงสมรรถภาพในการผลิต “จงชี่”
และเกิดการขัดขวางการขึ้น-ลง ของชี่ การควบคุมชี่ทั่วร่างกายอ่อนแอลง
อากาศบริสุทธิ์เข้าไม่ได้ดี อากาศเสียออกไม่ได้ดี
การไหลเวียนของเลือดและการขับระบายของสารน้ำ สารเหลวผิดปรกติ
เรียกว่า การหายใจเป็นแบบแผ่วๆเบาๆตื้นๆ ไม่เป็นจังหวะ
ถือเป็นภาวะที่ “ชี่ปอดพร่อง” นั่นคือการเจ็บป่วยอย่างหนัก

หากจะควบคุมกระบวนการเหล่านี้ได้ต้องมี “ชี่ปอด”
ที่แข็งแรงการบัญชาควบคุมชี่ของปอดจึงจะมีจังหวะสำม่ำเสมอ
และเป็นไปด้วยดี การหายใจไม่ติดขัด ชี่เคลื่อนไหวคล่อง

 

ควบคุมการฟุ้งกระจาย

ปอดควบคุมการฟุ้งกระจายและการฟอกลงล่าง

“การฟุ้งกระจาย” หมายถึงการที่ชี่ปอดฟุ้งขึ้นบน แล้วกระจายชี่และสารเหลวชั้นดี
ที่ส่งมาจากม้ามไปยังส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายจากบนถึงล่าง จากภายในถึงผิวภายนอก
ขณะเดียวกันก็หายใจออกเอาอากาศเสียกระจายออกจากร่างกาย
ปรับการเปิด-ปิดของช่องใต้ผิวหนังและรูขุมขน
เพื่อให้เกิดการเผาผลาญสารน้ำที่เป็นเหงื่อ
และช่วยกระจายความร้อนออกนอกร่างกาย ปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปรกติอยู่เสมอ

ดังนั้นหากสมรรถภาพในการฟุ้งกระจายของปอดไม่ดีจะทำให้หายใจไม่สะดวก
แน่นหน้าอก ไอหอบ คัดจมูก จามหรือไม่มีเหงื่อ เป็นการบ่งบอกว่าเริ่มป่วยแล้ว

ส่วน“การฟอกลงล่าง”หมายถึงการฟอกสิ่งสกปรกส่งลงล่าง
ชี่ปอดต้องลงล่างเพื่อทำให้ระบบทางเดินหายใจสะอาด การฟอกลงล่างมีบทบาทสามอย่างคือ


หนึ่ง หายใจสูดเอาอากาศบริสุทธิ์ส่งลงล่างไปยังไตหายใจเอาอากาศบริสุทธิ์
บวกกับชี่ที่มาจากอาหารที่กระเพาะม้ามส่งมา

สอง จากนั้นส่งกระจายไปทั่วร่างกาย   

สาม ทำความสะอาดปอดและทางเดินหายใจ ผ่านการหายใจเข้า-ออก และผ่านทางเหงื่อ

ดังนั้น หากการฟอกลงล่างของปอดไม่ดีจะทำให้หายใจตื้น หายใจไม่เต็มปอด หายใจกระชั้นไอมีเสมหะและไอเป็นเลือด เป็นต้น


 

ปรับทิศทางน้ำ

ปอดช่วยคล่องระบายในการปรับทางน้ำ

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญน้ำในร่างกายประกอบด้วยปอด ม้าม ไต
ดังนั้น ถ้าเกิดอาการมีเสมหะ บวมปัสสาวะมากเกินไปหรือน้อยเกิน ไป
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคล่องระบายในการปรับทางน้ำของอวัยวะทั้งสามนี้เกิดการติดขัดแน่นอน

คำว่า “คล่องระบาย”คือไม่ติดขัด เดินสะดวก

ส่วนคำว่า “การปรับทางน้ำ  คือ การปรับทางเดินท่อระบายน้ำให้โปร่ง  โล่ง  ไม่ติดขัด
ส่งลำเลียงกระจายน้ำไปเลี้ยงทั่วร่างกาย  พร้อมกับระบายน้ำที่เสียออกนอกร่างกายด้วย

การที่ปอดควบคุมการฟุ้งกระจายนั้น จึงไม่เพียงส่งสารน้ำ
สารเหลวและสารอาหารชั้นเยี่ยมไปทั่วร่างกายเท่านั้น
แต่ยังควบคุมการปิด-เปิดของช่องใต้ผิวซึ่งอยู่ระหว่างผิวหนังและกล้ามเนื้อ
เพื่อการขับระบายเหงื่อด้วย จึงเป็นการระบายน้ำทางหนึ่ง

โดยผ่านการสังเคราะห์ของไตและกระเพาะปัสสาวะ
กลายเป็นปัสสาวะนำพาของเสียขับออกนอกร่างกาย

เหล่านี้คือบทบาทในการปรับน้ำในร่างกายของปอดด้วยเช่นกันจึงกล่าวได้ว่า
“ปอดควบคุมน้ำ” และ “ไตเป็นแหล่งน้ำ” ดังนั้น
การมีเหงื่อมากเกินไปหรือไม่มีเหงื่อเลยจึงเป็นผลมาจาก
หน้าที่การควบคุมการคล่องระบายของปอดอ่อนแอทำให้ช่องใต้ผิวแน่นหรือหลวมเกินไป

เมื่อใดสมรรถภาพการคล่องระบายและปรับทางน้ำของปอดลดลง
น้ำจะเกาะกลุ่มกลายเป็นเสมหะ และเกิดอาการบวมขึ้นได้
ดังนั้น การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการบวม แพทย์แผนจีนจึงนำเอาการทำงานของปอดมาพิจารณาร่วมด้วย

 

 

 ควบคุมการหายใจ

ปอดคือศูนย์รวมของเส้นเลือดทั้งหมดควบคุมจังหวะการหายใจ

โดยที่เส้นเลือดทั้งหมดในร่างกายล้วนมารวมกันที่ปอดผ่านการหายใจ
นำเอาออกซิเจนมาช่วยฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดงส่งไปที่หัวใจ
ระบบไหลเวียนเลือด  ระหว่างหัวใจกับปอดจะวนเวียน
แลกเปลี่ยนผ่องถ่ายเลือดดำกับเลือดแดงกันไม่ขาดสาย

ในการผ่องถ่ายเลือดนั้นต้องพึ่งพาชี่   ชี่ต้องขึ้น-ลง จึงจะพาเลือดไปทั่วร่างกายได้
ปอดจึงเป็นศูนย์รวมของเส้นเลือดทั้งหมด
ควบคุมจังหวะการหายใจเข้า-หายใจออกอย่างมีจังหวะไม่ให้เร็วเกินไป
ไม่ให้ช้าเกินไป ไม่ให้ตื้นและไม่ให้ลึกเกินไป


การทำงานเหล่านี้ล้วนมาจากชี่ปอดที่แข็งแรงมีการควบคุมดูแลที่ดีของปอดนั่นเอง
หากจังหวะการหายใจไม่ดี เช่น หายใจตื้น ถี่กระชั้นเร็วหรือช้าเกินไป
แสดงว่าการทำงานของปอดอ่อนแอลงแล้ว


ติดต่อเรา

 สอบถามรายละเอียด

นัดหมาย หรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

 CLICK เลย!! 

ฝังเข็ม ติดต่อไพรเวช 

ติดต่อ ไพรเวชคลินิก 

Visitors: 112,331