อาหารบำรุงปอด

อาหารบำรุงปอด

 

สำหรับผู้ที่ยังไม่ป่วย รสของปอด  คือรสเผ็ด   ถ้ากินเผ็ดพอประมาณจะบำรุงปอด  ถ้าเผ็ดเกินไป ทำให้ปอดอ่อนแอได้

ดังนั้น "ขิง". จึงเป็นทั้งอาหารและยาที่ดีเยี่ยมสำหรับปอดและกระเพาะม้าม

 

อาหารเหมาะสำหรับปอด   คืออาหารที่มีรสอุ่นเผ็ด  เช่นขิง พริก พริกไทยป่น  พริกไทยอ่อน ขมิ้นขาว
กะชาย ข่า ตะไคร้ 
ต้นหอม หอมใหญ่ หัวหอมแดง สะระแหน่ เป็นต้น    

 

แต่การกินอาหารที่มีรสเผ็ด  ฤทธิ์กระจายเหล่านี้ โบราณจีนสอนว่า  "ฤดูร้อนกินขิง ฤดูหนาวกินหัวไชท้าว"
ทำไมฤดูร้อนร้อนอยู่แล้ว  ทำไมยังต้องกินของร้อน
เพราะว่าฤดูร้อนคนเรามักจะกินอาหาร เครื่องดื่มและผลไม้ฤทธิ์เย็นมาก
  ทำให้กระเพาะม้ามเย็นง่าย จึงต้องกินฤทธิ์ร้อนมากำกับไว้    

 

ส่วนฤดูหนาวกจะกินอาหารฤทธิ์ร้อนมาก  ต้องกินเย็นมากันไว้บ้าง ยังมีคำสอนที่ว่า 
“ ลงจากเตียงกินขิง   ก่อนขึ้นเตียงกินหัวไชท้าว”  ลงจากเตียงก็คือตื่นนอน ขิงควรกินช่วงเช้า 
เพราะตอนเช้าเป็นหยาง ต้องคึกคัก ต้องกระจาย  กิน "ขิง" ทำให้มีเรี่ยวแรงดี      

 ส่วนที่ว่าก่อนขึ้นเตียง  หมายถึงก่อนนอน ช่วงเย็น เป็นช่วงต้องเก็บชี่ไว้  เพราะเราใช้พลังงานมาทั้งวันแล้ว 
ถึงเวลากลางคืนต้องเก็บพลังไว้  จึงไม่ควรใช้ "ขิง" มากระจาย 

เราจึงไม่ควรกินขิงในตอนเย็น หรือก่อนนอน จะทำให้นอนไม่หลับ 
แต่กินหัวไชท้าวแทน (หรือน้ำเต้าหู้ก็ได้)

 

           จะมีคำถามว่าแล้วกินยาจีนห้ามกินหัวไชท้าวไม่ใช่หรือ

สำหรับ ผู้ที่ต้องร่างกายอ่อนแอ ต้องกินยาบำรุง เช่น โสม หวงฉี   ควรงดหัวไชท้าว  เพราะจะล้างยา

แต่สำหรับผู้ที่ไม่ถ่าย ท้องอืด สามารถกินหัวไชท้าวตอนเย็น  ด้วยวิธีกินน้ำต้มหัวไชท้าว
ส่วนผู้ที่ท้องผูก ให้ต้มหัวไชท้าวบดกินเหมือนมันฝรั่งบด  จะทำให้ถ่ายดี ลองดู

 ...........................................................

อาหารที่เหมาะสำหรับปอด 

ต้องจำแนกอาการเป็น  ปอดเย็น ปอดร้อน  ปอดชื้น

  ...........................................................

ปอดเย็น 

ปอดเย็น มีอาการ ไอแห้ง คันคอ หอบ กลัวหนาว เสมหะใส
ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคปอดต่าง ๆ รวมถึงโรคโควิท19
***เมื่อความเย็นเข้าไปในปอดลึก ๆ แล้ว ก็ทำให้เป็นปอดร้อนได้ 

 อาหารที่เหมาะกับอาการปอดเย็น คือ พืชผักผลไม้ รสเผ็ด ฤทธิ์อุ่นร้อน เช่น 

ขิง ขมิ้น พริก พริกไทย อบเชย รากผักชี ลูกกระวาน ชะเอม การพลู
เครื่องเทศต่าง ๆ  เครื่องแกง เครื่องต้มยำ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม กระเทียม 
กุยช่าย  ใบกระเพา โหระพา สะระแหน่

ทุเรียน ลำไย เงาะ ขนุน มะม่วงสุก มะตูม กล้วย เป็นต้น

และควรเลี่ยงการกินผักสด  ให้กินผักลวกหรือต้มแทน

อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน
เช่น ต้มยำ ต้มโคล้ง ต้มข่า แกงเผ็ด
แกงเลียง ผัดกระเพรา ผัดเผ็ด ผัดฉ่า แกงเหลือง คั่วกลิ้ง
น้ำพริกกะปิ ไก่ผัดขิง  แกงป่า เป็นต้น

 

 ...........................................................

 ปอดร้อน  และไฟปอดสูง

มีอาการดังนี้ เสมหะเขียว ร้อนใน แน่นหน้าอก ไอ เจ็บคอ เป็นต้น  

อาหารที่เหมาะกับอาการปอดร้อน คืออาหารที่มี รสขม ฤทธิ์เย็น เช่น

ฟัก มะระ หัวไชเท้า ผักโขม ผักกาดขาว สะเดา ใบขี้เหล็ก รากบัว สายบัว
บอระเพ็ด กวางตุ้ง ดอกกะหล่ำ ข้าวโพด ถั่วงอก มะรุม บวบ

องุ่น ชมพู่ สาลี่ มะละกอ มังคุด มันแกว แก้วมังกร
มะพร้าว แตงไทย แคนตาลูป เป็นต้น

อาหารที่เหมาะกับอาการปอดร้อน เช่น ต้มฟัก
ถั่วลิสงต้มกระดูกหมู  ต้มจับฉ่าย ผัดถั่วงอก ผัดผักรวม
ปลานึ่งซีอิ๊ว  ถั่วเขียวต้มน้ำตาล น้ำเต้าหู้  เต้าฮวย(ไม่เอาน้ำขิง) 
เฉาก๊วย น้ำเก็กฮวย เป็นต้น


ส่วนยาสมุนไพรที่เหมาะกับอาการปอดร้อน เช่น
จินหยิงฮวา(ดอกสายน้ำผึ้ง) รังนก
ฟ้าทะลายโจร หญ้าคาวปลา เห็ดหูหนูขาว เป็นต้น

สมุนไพรเหล่านี้ เป็นยาที่มีฤทธิ์เย็นจนถึงหนาว จึงควรกินแต่น้อย
เพราะการกินยาเดี่ยว ๆ  ที่ไม่เป็นตำรับนั้น
ความไม่สมดุลของยินหยางของยา
มันอาจจะไม่เหมาะกับร่างกายของเรา


...........................................................


ปอดชื้น

อาการหลัก ๆ ของ ปอดชื้นคือ เสมหะเยอะ และเหนียวมาก หนักเนื้อหนักตัว

อาการปอดชื้นนั้น จะมีอาการร้อนและเย็นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

อาการร้อนชื้น
วิงเวียน เสมหะเหลืองข้น ไอแน่นหน้าอก
หายใจไม่เต็มปอด หนักเนื้อหนักตัว เจ็บคอ เป็นต้น
สังเกตุ ได้จาก ขอบลิ้นมีรอยฟัน ลิ้นมีฝ้าเหลือง 

อาหารที่แนะนำคือ ลูกเดือย ถั่วแดง ชาเปลือกส้ม (เหล่านี้ช่วยขับชื้นได้ )
(ให้ทานแต่น้อยตามอาการเท่านั้น ถ้าหายแล้วให้หยุดทาน)
และ อาหารผักผลไม้ที่เกี่ยวกับอาการปอดร้อนดังข้อข้างบนร่วมด้วย

 

อาการเย็นชื้น
เสมหะมาก เสมหะขาวขุ่นข้น ถ้าโดนเย็นจะไอมาก
มีอาการหอบ หนักเนื้อหนักตัว 
สังเกตได้จาก ขอบลิ้นมีรอยฟัน มีฝ้าขาว

อาหารที่แนะนำคือ ลูกเดือย ถั่วแดง ชาเปลือกส้ม เช่นเดียวกัน

...........................................................

ฝากทิ้งท้าย

"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
ยังใช้ได้เสมอ

เรื่องสมุนไพรนั้น
จริง ๆ แล้วผู้ให้ข้อมูลบอกแต่ข้อดีอย่างเดียว ไม่ได้
ควรจะบอกข้อเสียให้รับรู้ ด้วย

          การจะดูแลร่างกายให้แข็งแรง  นอกจากจะรู้ว่าสิ่งนั้นดียังไงแล้ว
ต้องรู้ว่าร่างกายเราเหมาะกับสิ่งเหล่านั้นไหม
ในสถานการณ์แบบนี้ พฤติกรรมที่
"เขาว่า..." ว่าอะไรดี ก็เชื่อโอยไม่ลืมหูลืมตา เชื่อจนตัวเองเสียศูนย์
กลายเป็นไม่รู้ทั้งเขาไม่รู้ทั้งเรา ยังไงก็แพ้



พฤติกรรมการเชื่อโดยไม่ใช้วิจารณญาณเหล่านี้

"แทนที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง จะทำให้ร่างกายอ่อนแอลงด้วยซ้ำ"

แทนที่จะแข็งแรงกลายเป็นป่วย ไปเป็นภาระให้หมอที่งานหนักอยู่แล้วซะอีก




 

 

ติดต่อเรา

สอบถามรายละเอียด
นัดหมาย 

หรือ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

CLICK เลย!!

 

ฝังเข็ม ติดต่อไพรเวช

ติดต่อ ไพรเวชคลินิก 


  • “สมุนไพรอะไรที่พอจะช่วยให้ปอดแข็งแรงได้บ้าง” ผู้เขียนจะโดนคำถามนี้บ่อยมาก จึงขอนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ได้จากการติดตามศึีกษาและวิเคราะห์ การรักษาโรคCOVID-19 ของประเทศจีน มาถ่ายทอดให้ศึกษากัน

  • นอกจากการป้องกันโรคจากภายนอกร่างกายแล้ว การป้องกันโรคจากภายในก็สำคัญไม่แพ้กัน การทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ จะเป็นการป้องกันที่ดีอีกทางหนึ่ง เพราะว่าหากได้รับเชื้อก็จะผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ โดยสังเกตุได้จากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่อาการหนัก และบางท่านถึงกับเสียชีวิต ส่วนใหญ่จะร่างกายไม่แข็งแรงและมีโรคประจำตัวทั้งนั้น

  • ผลของการใช้ยาจีนจากการติดตามศึกษาการใช้ยาจีนร่วมกับยาแผนปัจจุบันรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่อู่ฮั่น ของผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแพทย์ปักกิ่งเทียนสิน ตงหนานและอีกหลายแห่ง
    ท่านเหล่านี้ได้แนะนำประสบการณ์ในการเข้ารักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
    หากร่วมด้วยช่วยกันทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณ ก็น่าจะสามารถเอาเจ้าวายร้ายโควิด 19 อยู่


  • ระบบย่อยอาหารก็มีผลกับการต่อสู้กับCOVID19 เพราะปอดกับลำไส้ใหญ่เป็นพี่น้องกัน ปกติระบบย่อยและขับถ่ายจะต้องลงล่าง แต่หากเมื่อใดเสียสมดุล ทำให้ไม่ลงล่างกลับย้อนขึ้นมาจะทำให้เกิด กรดไหลย้อน หอบหืด ฯลฯ ได้

  • เหงื่อออก ผิดปกติ เช่น เหงื่อออกหัวมาก เหงื่อออกครึ่งตัว เหงื่อออกมือออกเท้า ล้วนสัมพันธ์กับปอด
    ผิวแห้ง คัน ผิวกระจ่างใส เต่งตึง ก็มีปอดเข้าไปเกี่ยวข้อง
    ระบบขับถ่ายก็เกี่ยวเนื่องกับปอด หากระบบย่อยดี ปอดก็ดีตามไปด้วย
    ปอดเป็นแม่ของไต ถ้ามีอาการเกี่ยวกับไต บางทีอาจจะเกิดปอด ฯลฯ

  • นอนไม่หลับ ความดันสูง ร้อนแผ่นหลัง โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ปวดหัว การกินก่อโรค ฯลฯ คลิ๊กดูได้เลย

  • อาการกดไหลย้อนล้วนมาจากพฤติกรรมการกินทั้งนั้น กรดไหลย้อนเกิดจากความเย็น(ยิน)มากเกินไป ถ้าร่างกายเย็นอยู่แล้วยิ่งกินอาหารฤทธิ์เย็นเข้าไป ยิ่งทำให้อาการกรดไหลย้อนยิ่งรุนแรงขึ้น
Visitors: 112,280